แนวคิดทางวิชาการ: “สมาร์ทฟาร์ม” แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืนคือ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุโดยยกระดับประสิทธิภาพการ ผลิตหรือเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ผ่านวิธีการพัฒนาซึ่งมุ่งเน้นไปที่ตัว เกษตรกรทำให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตและระบบบริหารจัดการ ในมุมมองของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมีบทบาทในการตอบสนองความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาภาคการผลิตของประเทศ และได้นำเสนอ Smart Farm Flagship ในภาคการเกษตรเพื่อให้กำหนดแผนที่นำทาง (Roadmap) สำหรับการจัดทำนโยบายและการดำเนินการร่วมระหว่างหน่วยงาน แนวคิดหลักของสมาร์ทฟาร์มคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของกระบวนการผลิตสินค้า เกษตร ไปจนถึงผู้บริโภค (From Farmer to Market) เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต ลดต้นทุน รวมทั้ง พัฒนามาตรฐานสินค้า ซึ่งครอบคลุมด้านการตลาดที่เน้นความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการส่งเสริม ตราสินค้าไทย (Branding) และยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้า โดยยึดมาตรฐานสากลในการกำหนด คุณภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในระบบการสืบค้นย้อนกลับ (Traceability) ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจในสินค้าให้กับผู้ซื้อได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนั้นยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างเรื่องราว (Story) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เป็นสื่อใน การสร้างตราสินค้าและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่
ในการเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้านั้น แนวคิด “สมาร์ทฟาร์ม” ครอบคลุม ตั้งแต่กระบวนการผลิต โดยเน้นการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation/Robotic System) และการ พัฒนาองค์ความรู้ทางการผลิตโดยระบบการติดตามและเตือนภัยล่วงหน้า (Monitoring/Warning System) ในด้านการจัดการผลผลิต แนวคิด “สมาร์ทฟาร์ม” ให้ความสำคัญกับระบบควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ อาทิการวัดความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้งการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ซึ่ง เป็นหลักการในการดูแลความปลอดภัยของสินค้าให้กับผู้บริโภค ที่ต้องใช้ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกลาง (Center of Information) ซึ่งมีความเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่คุณค่าของสินค้า (Value Chain) พร้อมทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่
การดำเนินงานที่สำคัญคือ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตร (War Room) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากทุก ภาคส่วนให้ครอบคลุมทั้งในด้านของแหล่งผลิต ฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณผลผลิต สภาพภูมิอากาศ รวมทั้งราคาสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนั้น ในระดับท้องที่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมีการ จัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัด โดยรวบรวมข้อมูลโซนนิ่งสินค้าเกษตร ทะเบียนเกษตรกร ที่ตั้งฟาร์ม แหล่ง รวบรวมผลผลิต , กระจายสินค้า ตลาดภายในและภายนอกจังหวัด แหล่งแปรรูป ต้นทุน ราคา การตลาด สภาพ ดิน และแหล่งน้ำ เป็นต้น เพื่อวางแผนโซนนิ่งสินค้าเกษตร พร้อมทั้งน าข้อมูลไปเผยแพร่ต่อเกษตรกร เพื่อให้ แนวคิด “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” สามารถก่อให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
อีกด้านหนึ่งของกระบวนการสร้าง “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” คือ การพัฒนา “Smart Officer” หรือ เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีองค์ความรู้ทางวิชาการและนโยบาย สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนเกษตรกร โดยชี้นเกษตรกรตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และ ระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ (Zero Waste Agriculture) ซึ่งการก้าวสู่การเป็น “Smart Officer” ของเจ้าหน้าที่หมายถึงการปรับกระบวนการทำงาน โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงชนิด และปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งปัญหาของสินค้าแต่ละชนิด เป็นต้น นอกจากนั้นยัง ต้องสามารถเชื่อมโยงกับศูนย์วิจัยของเครือข่ายหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ และข้อมูลจากสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร โดยนำมาวางแผนด้านการผลิตให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะจาก ศูนย์ข้อมูลเกษตรที่จะมีการจัดตั้งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลทุกด้าน รวมไปถึงทิศทางและนโยบาย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา